22 กรกฎาคม / 5:57 PM
โรคริดสีดวงทวารทำให้เกิดมะเร็งหรือไม่?
ริดสีดวงทวาร คือ...
ริดสีดวงเป็นโรคที่เกิดจากเส้นเลือดดำทวารหนักหรือส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่มีการบวมพองยื่นนูนเป็นติ่งออกมาจากทวารหนัก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ริดสีดวงภายใน เกิดบริเวณเนื้อเยื่อทวารหนักที่อยู่สูงกว่าระดับหูรูดทวารหนัก
และริดสีดวงภายนอก เกิดบริเวณทวารหนักส่วนล่างมีอาการนูนเป็นติ่งออกจากทวารหนัก
มะเร็งทวารหนัก คือ โรคมะเร็งที่เกิดจากเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณทวารหนัก ส่วนใหญ่มีอาการดังนี้
-ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือมีมูกเลือดปนมา
-มีก้อนเนื้อบริเวณทวารหนัก โดยอาจโผล่มาให้เห็นหรือคลำเจอเมื่ออุจจาระ
-ปวดบริเวณทวารหนัก หรืออาจมีอาการคันร่วมด้วย
-พฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งรูปร่างของอุจจาระก็เปลี่ยนไป
-มีสารคัดหลั่งไหลออกจากทวารหนักอย่างเรื้อรัง
-ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโตจนคลำเจอได้ โดยอาจพบว่าโตทั้งสองข้างหรือโตข้างเดียว ซึ่งอาการนี้จะพบได้เมื่อมะเร็งลุกลามไปมากแล้ว
-เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ค่อนข้างน้อย ซึ่งโรคมะเร็งทวารหนัก ก็อาจเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกชนิดของทวารหนัก ได้แก่ เซลล์ภายในทวารหนัก โดยอาจจะเป็นเซลล์เยื่อเมือกหรือเซลล์เยื่อบุผิวภายนอกก็ย่อมเป็นได้
สาเหตุการเกิดมะเร็งทวารหนัก
จนถึงปัจจุบันสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งทวารหนักยังคงไม่ชัดเจน แต่มีผลการวิจัยยืนยันแล้วว่า ปัจจัยบางอย่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งทวารหนัก ซึ่งประกอบไปด้วย ไวรัส HPV โดยสายพันธุ์ที่พบได้บ่อยว่าเป็นสาเหตุของมะเร็งทวารหนัก คือ HPV-16
และ HPV-18
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้ ดังนี้
-มีอายุมากกว่า 50 ปี
-สูบบุหรี่
-มีประวัติเป็นโรคมะเร็งมากปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด หรือมะเร็งช่องคลอด
-มีปัญหาภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เคยผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ หรือรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน
-มีพฤติกรรมทางเพศในทางที่เสี่ยง เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อยครั้ง มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
-เกิดการอักเสบเรื้อรังของทวารหนัก หรือ มีเนื้องอกที่ทวารหนักคล้ายริดสีดวง
-เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกติ โดยจะเป็นชนิดไม่ถ่ายทอด
วิธีลดความเสี่ยงโรคมะเร็งทวารหนัก
แม้ว่ามะเร็งทวารหนัก หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเป็นโรคที่น่ากลัว แต่ก็ถือว่าเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ เพียงแค่เราหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและมีความหลากหลาย
หมั่นสังเกตตัวเองว่าการขับถ่ายเป็นปกติดีหรือไม่ หากพบความผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารกหนัก ยังสามารถตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ทำให้การรักษาได้ผลดีและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
Autor: Paweena J.
Tags